เรียบเรียงโดย ยังโสด

สวัสดีชาวยังโสด เคยมั้ยที่ตอนคุณยังโสด คุณจะยิ้มง่าย หัวเราะง่าย ร่าเริงเวลาอยู่กับผู้คน พบเจอผู้คนมากมาย แต่กลางคืนกลับรู้สึกแอบเหงาอยากมีใครสักคนอยู่ข้างๆ เหมือนคู่อื่นๆ เหมือนกัน วันนี้เราจะมาเช็คลิสต์กันว่าคุณเป็นโรคหวงความโสดรึเปล่า!

girl-3954232_1920

โรคหวงความโสดคืออะไร?
ฟังแล้วก็เหมือนเป็นโรคมโนโรคนึง แต่จริงๆ แล้วในทางการแพทย์เรียก Philophobia หรือโรคกลัวความรัก จะพยายามปิดกั้นตนเองจากความรัก จะไม่รู้จักใครลึกซึ้ง พยายามไม่ให้ตัวเองรู้สึกว่ารักใคร หรือรู้สึกพิเศษกับใครเลยสักคน ต่อให้บางครั้งจะรู้สึกดีกับใครขึ้นมาบ้าง แต่สุดท้ายก็จะไม่ยอมเปิดใจและถอยห่างออกมา

เรามาเช็คลิสต์แต่ละข้อกันดู

1 ชอบทำอะไรตัวคนเดียว ทำอะไรตัวคนเดียวรู้สึกสบายใจ ไม่ต้องแคร์ใคร อยากจะทำอะไรก็ทำ ผูกความสุขไว้กับตัวเอง ไม่เห็นจำเป็นต้องมีแฟนเลย

2 ปิดกั้นโอกาสทางความรัก ใครที่เข้ามาก็ปฏิเสธไปหมด ไม่พร้อมเริ่มต้นใหม่กับใครง่ายๆ หรือจะมีหลุดรอดผ่านเข้ามา พอไปสักพักก็อยากจะหนีไปให้ไกล สุดท้ายก็จบความสัมพันธ์ลง

- Advertisement -

3 กลัวการเริ่มต้นใหม่ ไม่อยากเริ่มต้นความรักกับใคร เพราะรู้ว่าสุดท้ายแล้วคบไปก็ต้องจบอยู่ดี

4 มือเท้าชา ใจเต้นแรง เมื่อมีคนมาสารภาพ

5 ผิดหวังในความรักซ้ำๆ จนไม่กล้าเปิดใจรับใครใหม่เข้ามา เพราะกลัวว่าจะผิดหวังซ้ำอีก

6 เห็นคุณค่าในตัวเองต่ำ เป็นคนไม่มีค่าพอ จะเหมาะสมกับใคร จึงเลือกที่จะไม่สร้างสัมพันธ์กับใครง่ายๆ ต่อให้เค้าเป็นคนที่ชอบก็ตาม

7 รู้สึกเครียดหรือเป็นกังวล เวลาหวั่นไหวไปกับความรัก

8 พยายามหักห้ามใจ ไม่ให้ตัวเองรู้สึกว่าตกหลุมรัก

- Advertisement -

แนวทางการรักษา

1 ความคิดและพฤติกรรมบำบัด
นักจิตวิทยาและจิตแพทย์จะเข้ามาทำความเข้าใจกับคนไข้ ชวนคุยในประเด็นที่คนไข้รู้สึกกลัว หรืออาจมีรูปภาพและคลิปวิดีโอคนรัก การตกหลุมรัก มาประกอบการรักษา ทั้งนี้ก็เพื่อให้คนไข้มีทัศนคติที่ดีกับความรักมากขึ้น

2 เผชิญหน้ากับสิ่งที่กลัว (Exposure Therapy)
นับเป็นอีกวิธีการรักษาที่ได้ผลค่อนข้างมาก โดยผู้เชี่ยวชาญจะจัดให้ผู้ป่วยเจอกับสถานการณ์หวาน ๆ ให้เพศตรงข้ามชวนพูดคุย หรือให้ดูหนังโรแมนติก ซีนสุดซึ้ง เพื่อฝึกให้คนไข้มีแรงต้านทานต่อความกลัวของตัวเองเพิ่มมากขึ้น และลดแรงกดดัน ความวิตกกังวลเมื่อเจอสถานการณ์รัก ๆ ลงไปบ้าง

3 รักษาด้วยยา
การรักษาด้วยยาจะเป็นแนวทางเสริมสำหรับผู้ป่วยที่มีความเครียดสูง หรือมีความรู้สึกกังวลทุกครั้งเมื่อเจอกับความกลัว โดยวิธีนี้จะช่วยให้ผู้ป่วยควบคุมอารมณ์และการแสดงออกของตัวเองได้ดีขึ้นเป็นอย่างไรกันบ้าง สำหรับเช็คลิสต์ที่ได้รวบรวมมา

อย่างไรก็ตามไม่ได้หมายความว่าทุกคนที่เช็คลิสต์แล้วตรงจะเป็นทั้งหมด แต่ก็ต้องสังเกตุตัวเองด้วย หากกังวลว่าตัวเองเป็นโรคนี้ก็ควรปรึกษาแพทย์เพิ่มเติมเพื่อความสบายใจเนอะสุดท้ายนี้สำหรับใครที่กลัวความรัก ก็ลองเปิดใจไปให้สุดทางดู ไม่แน่อาจคุ้มค่าก็ได้ ^^

หากชอบบทความนี้อย่าลืมกดไลค์เพื่อเป็นกำลังใจให้พวกเรา และกดแชร์แบ่งปันบทความดีๆ ให้เพื่อนๆ ด้วยนะจ๊ะ^^

แหล่งอ้างอิง 1, 2

- Advertisement -